วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555


        

แนะนำบล็อกค่ะ


          ขอแนะนำบล็อคที่รวบรวมขั้นตอนและวิธีการเขียนหนังสือนิทานนอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ และตัวอย่างหนังสือนิทาน ซึ่งเป็นผลงานของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา

              โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่าน ซึ่งแต่ละเรื่องก็จะมีข้อคิด คติเตือนใจ เหมาะแก่การอ่านเพื่อพัฒนาอารมณ์ และสติปัญญา และสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปประกอบสื่อการสอนสอนได้ นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมายและเป็นเว็บที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย โดย http://atinno.blogspot.com/



นิทานเรื่อง ดวงดาวแห่งรัก





นิทานเรื่อง ดวงดาวแห่งรัก

ผู้แต่ง
นางสาวลัดดาวัลย์   สิงอ่อน
คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาภาษาไทย  หมู่ ๓
รหัส ๕๓๓๔๑๐๐๑๐๓๒๙

จำนวน ๑๔  หน้า
























































สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ คลิกที่นี่





วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555



โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช

 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมณ์บรรพบุรุษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน

              แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา


สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่

 

โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย




ณ. แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์



         โครงการบ้านหลังเรียน “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์” บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ “ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช” อดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ “อาจารย์ป้าต๋อย” ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555



ล้มทั้งยืน...ดีกว่าล้มไม่เป็น (



"อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอหากเราคิดจะนับซะอย่าง"

ถ้าสิ่งที่เราคาดหวัง...ไม่เป็นดั่งหวังถ้าสิ่งที่เราพยายามทุ่มเททำสุดแรง กายแรงใจไม่ประสบผลสำเร็จ ถ้าสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นและได้สร้างความบอบ ช้ำจนทำให้เราต้องจมอยู่กับความทุกข์


เรา กำลังก้าวสู่ "ชีวิตที่เป็นจริง" แล้วหล่ะ เพราะความเป็นจริงของชีวิต จะสอนให้เรารู้จักยอมรับความพ่ายแพ้สอนให้เรารู้จักสูญเสียน้ำตา เพื่อที่จะได้รอยยิ้มคืน กลับมาเป็นรางวัลตอบแทนแต่มันก็ไม่เคยทำให้ใครหมดสิ้นความหวัง หมดสิ้นพลังและกำลังใจไปกับความพ่ายแพ้ เพียงแค่ความเป็นจริงสอนให้พวกเราทุกคนรู้ว่า

...........อย่าเพียรสร้างความหวัง แต่ให้เชื่อมั่นใความหวัง............

เพราะความเชื่อมั่นจะนำพาเราไปพบกับ "หนทางสู่ความสำเร็จ"

แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันอะไรอีกมากมายกว่าจะถึงวันนั้นแม้ว่าจะต้องล้มลงอีกสักกี่ครั้งแม้ว่าจะต้องผิดหวังอย่างแรงอีกสักกี่หนก็ตาม


ปล่อยให้ชีวิตผิดพลาดเสียบ้าง ปล่อยให้ความคาดหวังได้เจอกับความผิดหวัง ปล่อยให้ความฝันกลายเป็นฝันค้างลอยกลางอากาศ ปล่อยให้อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด แม้ว่าเกิดขึ้นแล้วจะเลวร้ายกับชีวิตก็ตามทีเพราะทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น จะช่วยสอนและช่วยเป็นบทเรียนอันล้ำค่าให้แก่ชีวิต ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วบนโลกใบนี้

คุณบอย โกสิยพงศ์ เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเล่มหนึ่ง เขาพูดให้แง่คิดที่ดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันอาจจะสร้างบาดแผลให้กับใครหลาย ๆ คนมาบ่อยครั้ง คุณบอยพูดไว้ว่า...

"ไม่มีอะไรที่อยู่กับเราตลอดชีวิต ทุกอย่างมันก็รอเวลาจากเราไปทั้งนั้น เชื่อว่าถ้าชีวิตคนเราไม่ยึดติด ไม่ต้องแขวนชีวิตไว้กับความคาดหวัง เวลาที่เราสูญเสีย หรือเวลาที่เราต้องเจอกับความล้มเหลว เราคงมีภูมิต้านทานมากพอที่จะเอาไว้ต่อสู้กับความท้อแท้ อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เพราะว่าเรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอหากเราคิดที่จะนับซะอย่าง ไม่มีอะไรบนโลกที่น่ากลัว และไม่จำเป็นต้องกลัวกับความเป็นจรองของชีวิต"



"มีพบก็ต้องมีจาก มีได้ก็ต้องมีเสีย และมีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นสัจธรรม"

เมื่อไรที่เราได้รู้จักสัมผัส และได้เรียนรู้กับชีวิตทั้งสองด้าน เมื่อนั้นเราจะไม่รู้สึกเสียดายหากเราได้มีโอกาสล้มทั้งยืน แต่เราจะเสียใจไปตลอดชีวิตหากเราไม่สามารถก้าวข้ามความล้มเหลวที่ผ่านเข้ามา ได้

มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า...
การตั้งความหวัง คือการเสี่ยงกับความเจ็บปวดการพยายาม คือการเสี่ยงกับความล้มเหลวแต่ยังไงก็ต้องเสี่ยง เพราะในสิ่งที่อันตรายที่สุดในชีวิตก็คือการไม่เสี่ยงอะไรเลย

"ล้ม" ลงสักกี่ครั้ง ผิดหวังมาสักกี่หน ลุกขึ้นยืนให้ไกด้ แล้วสักวันเราจะเจอความสุข เพราะความสุขไม่ได้หนีจากเราไปไหนหรอก มันอยู่ใกล้เราแค่เพียงเอื้อมมือจริง ๆ ถ้าหากเราไม่ได้ไปตัดสินว่า โลกมันควรเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น และไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองมากจนเกินไป เวลาคิดหรือทำอะไรสักอย่างแล้วมีข้อบังคับ มีกรอบ และสร้างมโนภาพความสำเร็จไว้ล่วงหน้า เมื่ออะไร ๆ ไม่เป็นไปตามกฎของเรา เราก็ทุกข์ เราก็เสียใจ และเราก็ใจเสียเอาได้ง่าย ๆ

มีคนเคยบอกไว้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ ไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดความสุขของคุณ แต่มันเป็นความคิดของคุณเองต่างหาก ความคดที่มีต่อสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับคุณนั่นเองจะสุขหรือจะทุกข์ก็ขึ้นอยู่ ที่เราทั้งนั้นเป็นคนกำหนด ล้มทั้งยืนเสียบ้างก็คงไม่เสียหายไร แต่ล้มไม่เป็นเลยนี่สิ...

ลองคิดดูเล่นๆ ซิว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตต่อไป...................หลังจากนี้






บทความ ?



         บทความ คือข้อเขียนซึ่งอาจจะเขียนเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะพิเศษต่างจากความเรียงความธรรมดา เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นจากพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยใช้หลักฐานการอ้างอิงประกอบในลักษณะวิเคราะห์ปัญหาขัดแย้งต่างๆ หรือในการเสนอความเห็นทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหริอเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม นิยมใช้ภาษาที่กระชับเป็นทางการเรียบง่าย ชัดเจน มีข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์

จุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ

           1.เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
           2.เพื่อพรรณนาทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่
           3.เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่า่นคล้อยตามความคิดของผู้เขียน
           4.เพื่ออธืบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม

ประเภทของบทความ

           1.ประเภทปัญหาโตแย้ง
           2.ประเภทเสนอคำแนะนำ
           3.ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
           4.ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
           5.ประเภทเปรียบเทียบ สมมุติ หรืออุปมาอุปไมย

ลักษณะของบทความที่ดี


           1.น่าสนใจ มีเนื้อหาเหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
           2.มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
           3.มีขนาดกะทะรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆ ถูกต้องตามหลักภาษา
           4.ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
           5.มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป

ขั้นตอนการเขียนบทความ


           1.การเลือกเรื่อง เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้

              2.การวางแผนก่อนการเขียน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใคร

             3.
การจัดเนื้อหา ได้แก่ การวางโครงเรื่องของบทความ ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา คาวมคิด ของเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น จะลำดับ



การใช้สำนวนโวหาร

                  ขั้นตอนในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น 5 คือ
 
               1) บรรยายโวหาร
                 2) พรรณนาโวหาร
                 3) เทศนาโวหาร
                4) สาธกโวหาร
                5) อุปมาโวหาร 

1. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร
              1) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
              2) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
              3) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
             4) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่อง และสัมพันธ์กัน 

2. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
              1) ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
             2) ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
            3) อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
           4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น 

3. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
หลักการเขียนเทศนาโวหาร
                การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น 

4.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ 

5.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด 



ผญา


            คนอีสานมีคำคม สุภาษิตสำหรับสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติตนอยู่ในฮีตคอง ไม่ออกนอกลู่นอกทาง คำคมเหล่านี้รู้จักกันทั่วไป ในชื่อ "ผญา" หมายถึง ปัญญา ปรัชญา ความฉลาด ปัญญา ปรัชญา หรือผญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงกัน ใกล้ เคียงกันหรือบางครั้งใช้แทนกันได้ ซึ่งหมายถึง ปัญญา ความรู้ ไหวพริบ สติปัญญา ความเฉลียว ฉลาดปราชญ์เปรื่อง หรือบางท่านบอกว่า ผญา มาจากปัญญา โดยเอา ป เป็น ผ เหมือนกับ เปรต เป็น เผด โปรด เป็น โผด เป็นต้น
            ผญาเป็นลักษณะแห่งความคิดที่แสดงออกมาทางคำพูด ซึ่งอาจ จะมีสัมผัสหรือไม่ก็ได้ผญา คือ คำคม สุภาษิต หรือคำพูดที่เป็นปริศนา คือฟังแล้วต้องนำมาคิด มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นจริงและชัดเจนว่าหมายถึงอะไรผญา เป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีสัมผัสเสมอไป แต่เวลาพูดจะ ไพเราะสละสลวย และในการพูดนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะหนักเบาด้วย

            ผญา เป็นการพูดที่ต้องใช้ไหวพริบ สติปัญญา มีเชาวน์ มีอารมณ์คมคาย พูดสั้นแต่กินใจความมากการพูดผญาเป็นการพูดที่กินใจ การพูดคุยด้วยคารมคมคาย ซึ่งเรียกว่า ผญา นั้น ทำให้ผู้ฟังได้ทั้งความรู้และความคิดสติปัญญา ความสนุกเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้เกิด ความรักด้วย จึงทำให้หนุ่มสาวสมัยก่อน นิยมพูดผญากันมาก และการโต้ตอบเชิงปัญญาที่ทำ ให้แต่ละฝ่ายเฟ้นหาคำตอบ เพื่อเอาชนะกันนั้นจึงก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ล้ำลึกสามารถผูกมัด จิตใจของหนุ่มสาวไม่น้อย ดังนั้น ผญา จึงเป็นเมืองมนต์ขลังที่ตรึงจิตใจหนุ่มสาวให้แนบแน่นลึกซึ้งลงไป
            ภาษิตโบราณอีสานแต่ละภาษิตมีความหมายลึกบ้าง ตื้นบ้าง หยาบก็มี ละเอียด ก็มี ถ้าท่านได้พบภาษิตที่หยาบ ๆ โปรดได้เข้าใจว่า คนโบราณชอบสอนแบบตาเห็น ภาษิตประจำ ชาติใด ก็เป็นคำไพเราะเหมาะสมแก่คนชาตินั้น คนในชาตินั้นนิยมชมชอบว่าเป็นของดี ส่วนคน ในชาติอื่น อาจเห็นว่าเป็นคำไม่ไพเราะเหมาะสมก็ได้ ความจริง "ภาษิต"คือรูปภาพของวัฒนธรรมแห่งชาตินั่นเองการจ่ายผญาหรือการแก้ผญา

            การจ่ายผญา แก้ผญา เว้าผญา หรือพูดผญา คือการตอบคำถาม ซึ่งมีผู้ถามมาแล้ว ก็ตอบไป เป็นการพูดธรรมดา ไม่มีการเอื้อนเสียง ไม่มีทำนอง แต่เป็นจังหวะ มีวรรคตอนเท่านั้น ผู้ถามส่วนใหญ่จะเป็นหมอลำฝ่ายชาย คือลำเป็นคำถาม ฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายตอบ หรือจ่ายผญา ด้วยเหตุนี้จึงมักจะเรียกว่า ลำผญา หรือลำผญาญ่อย

ผญาคำสอน
1. คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก          ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง
2. คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
3. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา                  อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
4. คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง
แปล ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง
5. เกลี้ยงปากทางไหทางในเป็นปลาแดก เกลี้ยงปากบั้งขังข้อปากกะทอ







 



                                                                      

ความหมายของเรียงความ


                เรียงความ เป็นงานเขียน ร้อยแก้ว ชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับขั้นและสละสลวย


องค์ประกอบของเรียงความ
                มี ๓ ส่วนใหญ่ ๆ คือ
คำนำ
                เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา


การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้


     § ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ


     § ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง


     § ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย


     § อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้


เนื้อเรื่อง


               เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้


การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้


         § ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ


        § ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ


       §  เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ


สรุป


             เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้


          § เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)


          § อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น


          § ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้


          § ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก


ขั้นตอนการเขียนเรียงความ


การเลือกเรื่อง
              หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว ควรเลือกตามความชอบ หรือความถนัดของตนเอง

วางโครงเรื่อง
             เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดการ จัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่น


1. จัดลำดับหัวข้อตามเวลาที่เกิด


2. จัดลำดับหัวข้อจากหน่วยเล็กไปสู่หน่วยใหญ่


3. จัดลำดับตามความนิยม


                โครงเรื่องของงานเขียนควรจัดหมวดหมู่ของแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน โครงเรื่องเปรียบเสมือนแปลนบ้าน ผู้สร้างบ้านจะต้องใช้แปลนบ้านเป็นแนวทางในการสร้างบ้าน การเขียนโครงเรื่องจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เขียนเรียงความเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าไม่เขียนโครงเรื่องหรือไม่วางโครงเรื่อง เรียงความอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ


การเรียบเรียง
                ตามรูปแบบของเรียงความ ตามองค์ประกอบ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป (บางคนอาจเขียนคำนำหลังสุดก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน)
ลักษณะของเรียงความที่ดี
              นอกจากต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป แล้วยังต้องมีลักษณะดังนี้อีกด้วย
เอกภาพ
              คือ ในแต่ละย่อหน้า ความคิดสำคัญต้องมีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันกับหัวข้อเรื่อง
สัมพันธภาพ
              คือ ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่อง โดยจะต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี จัดลำดับย่อหน้าอย่างมีระบบระเบียบ เรียบเรียงด้วยคำเชื่อมที่เหมาะสม
สารัตถภาพ
              คือ มีเนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่องโดยในแต่ละย่อหน้า ประโยคสำคัญต้องชัดเจน ประโยคขยายมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเน้นย้ำให้ประโยคใจความสำคัญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



รูปแบบของจดหมาย


(ที่อยู่ผู้เขียน)......................

(วันที่)......................(เดือน)....................(พ.ศ.)......................

(คำขึ้นต้น)....................................................................................................................

(เนื้อความ)......................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................................................................................
(คำลงท้าย)...........................................
(ชื่อผู้เขียน)..........................


รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย


ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้
ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่
คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูกหนูผมกระผมดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง


ผู้รับ ญาติผู้ใหญ่


คำขึ้นต้น กราบเท้า....ที่เคารพอย่างสูง หรือ กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) หลานผมกระผมดิฉันหนูหรือใช้ชื่อเล่นแทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายคุณลุงคุณป้าคุณน้าคุณอา
คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง


ผู้รับ พี่หรือเพื่อนที่อาวุโสกว่า


คำขึ้นต้น เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ...ที่เคารพ
สรรพนาม (ผู้เขียน) น้องผมดิฉันหนูหรืออาจใช้ชื่อเล่นเเทนสรรพนาม (ผู้รับ) คุณพี่คุณ ...คำลงท้าย ด้วยความเคารพด้วยความเคารพรัก
ผู้รับ น้อง หรือเพื่อน
คำขึ้นต้น ...น้องรัก หรือ คุณ ... ที่รัก หรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก
สรรพนาม (ผู้เขียน) ฉัน พี่
สรรพนาม (ผู้รับ) เธอคุณน้อง
คำลงท้าย ด้วยความรักด้วยความรักยิ่งรักเเละคิดถึง


ผู้รับ บุคคลทั่วไป


คำขึ้นต้น เรียนคุณ...ที่นับถือ หรือ เรียนผู้จัดการบริษัท ... จำกัด
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผมดิฉันสรรพนาม ผู้รับ) คุณท่าน
คำลงท้าย ของเเสดงความนับถือ



ผู้รับ พระภิกษุทั่วไป

คำขึ้นต้น นมัสการ...
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม,กระผมดิฉันสรรพนาม (ผู้รับ) ท่านพระคุณท่านใต้เท้าพระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง