วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555



กลอน ?


          กลอนคือลักษณะคำประพันธ์ ที่มีการเรียบเรียงเข้าเป็นคณะมีการสัมผัสกัน ตามลักษณะบัญญัติ เป็นประเภท ๆ ไป แต่จะไม่มีการบังคับในเรื่องของเอกโท และครุลหุโดยกลอนของไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือกลอนสุภาพ
เป็นกลอนที่การใช้ถ้อยคำ และการเรียบเรียงทำนองเรียบๆแบ่งย่อยออกเป็นอีก ๔ ชนิด ได้แก่ กลอน๖ กลอน๗ กลอน๘ กลอน๙ โดยที่กลอนสุภาพ นั้นนับว่าเป็นกลอนหลัก ของกลอนทุกชนิด โดยถ้าใครมีความเข้าใจในกลอนสุภาพได้อย่างดี ก็จะสามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่าย เพราะกลอนอื่นๆ ที่มีการเรียกชื่อที่ต่างออกไปล้วนแต่มีการเปลี่ยนรูปแบบ วิธีจากกลอนสุภาพ แทบทั้งสิ้นกลอนลำนำ
เป็นกลอนที่มักใช้ขับร้อง หรือใช้สวด โดยมีการแบ่งทำนองออกเป็น ๕ รูปแบบคือ ๑. กลอนบทละคร ๒. กลอนสักวา ๓. กลอนเสภา ๔. กลอนดอกสร้อย ๕. กลอนขับร้องกลอนตลาด
เป็นกลอนผสม หรือกลอนคละ โดยจะไม่มีการกำหนดคำตายตัว
เช่นกลอนสุภาพ ในแต่ละบทกลอน อาจจะมีวรรค ๗ คำบ้าง ๘ คำบ้าง ๙ คำบ้างหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการเอากลอนสุภาพ หลายชนิดนั่นนำเข้ามาผสมกันนั่นเอง โดยกลอนประเภทนี้เป็นกลอนที่ใช้ในการขับร้องแก้กัน จึงมักเรียกกันว่า กลอนตลาดโดยยังมีการแบ่งออกเป็นอีก ๔ ชนิด คือ ๑. กลอนเพลงยาว ๒. กลอนนิราศ ๓. กลอนนิยาย ๔. กลอนเพลงปฏิพากย์ แผนผังกลอนสุภาพจำนวน ๑ บท เมื่อแต่งมากกว่า ๑ บท ต้องมีสัมผัสระหว่างบท สังเกตสัมผัสระหว่างบทจากคำประพันธ์นี้


           ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ควรจำ

กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ
ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน
เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น